ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา มะเกิ้ม, มะกอกเกลื้อน
มะเกิ้ม, มะกอกเกลื้อน
Canarium subulatum Guillaumin
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Burseraceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Canarium subulatum Guillaumin
 
  ชื่อไทย มะเกิ้ม, มะกอกเกลื้อน
 
  ชื่อท้องถิ่น เพะมาง, เกิ้มดง(ขมุ), มะกอกกั๋น(คนเมือง), มะเกิ้ม(ไทลื้อ), สะบาง, ไม้เกิ้ม(ขมุ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 25-30 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ด ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียนสลับ ใบย่อยออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปไข่ถึงรูปรี ปลายเรียวแหลม โคนเบี้ยว รูปหัวใจหรือมน ขอบจักเป็นฟันเลื่อยตื้นๆ ถึงเกือบเรียบ ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน ปลายเส้นแขนงใบย่อยโค้งจรดกันเกือบถึงขอบใบ ดอก เล็กสีขาว แยกเพศ ออกเป็นช่อแตกแขนงสั้นๆ ตามง่ามใบ ผล รูปรี ผิวเกลี้ยง เมื่อสุกสีดำปนน้ำเงิน มี 1 เมล็ด
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลดิบและสุก รับประทานได้(ไทลื้อ,ขมุ)
ผลแก่ รับประทานได้มีรสเปรี้ยว(คนเมือง)
- เนื้อไม้ ใช้ทำโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น ประตู หน้าต่าง(คนเมือง)
เนื้อไม้ สร้างบ้าน(ขมุ)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง